Blog

ไวรัส RSV…ไวรัสร้ายที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จัก

ไวรัส RSV…ไวรัสร้ายที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จัก

News
ไวรัส RSV ในช่วงปลายฝนต้นหนาว หนึ่งในโรคที่เป็นปัญหาสำคัญในวัยทารกและเด็กเล็กที่คุณพ่อคุณแม่คงเคยได้ยินกันบ่อยๆ ก็คือ “โรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส RSV” ซึ่งเป็นโรคที่มีอาการคล้ายไข้หวัด แต่อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบได้ RSV คืออะไร อาการของโรค RSV การป้องกันโรค RSV RSV หรือชื่อเต็มๆ ว่า Respiratory Syncytial Virus เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก เชื้อไวรัสนี้สามารถทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้เนื่องจากมักเกิดพยาธิสภาพในส่วนของหลอดลมเล็ก (bronchiole) และถุงลม (alveoli) ทำให้มีการสร้างสิ่งคัดหลั่ง เช่น เสมหะ ออกมาในปริมาณมาก และมีการหดตัวของหลอดลมเนื่องจากการบวมของเยื่อบุหลอดลมและทางเดินหายใจต่างๆ ส่งผลให้เด็กมีอาการหอบ เหนื่อย และหายใจลำบากได้อย่างรวดเร็ว เชื้อนี้ติดต่อกันได้โดยการสัมผัสใกล้ชิดกับสิ่งคัดหลั่งต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ อาการของโรค RSV อาการของโรคติดเชื้อไวรัส RSV บางอย่างอาจคล้ายกับอาการไข้หวัดธรรมดา เช่น ไข้ (ส่วนใหญ่ไข้ไม่สูงนัก) ไอ จาม แต่ก็มีอาการที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตและสงสัยว่าลูกอาจได้รับเชื้อไวรัส RSV เช่น หอบเหนื่อย หายใจเร็ว หายใจแรง หายใจครืดคราด ตัวเขียว มีเสียงหวีดในปอด (จากการที่เยื่อบุทางเดินหายใจบวมอักเสบและหลอดลมหดตัว) มีเสมหะมาก ไอโขลกๆ แนวทางการรักษา ในเด็กเล็กที่อ่อนแอมาก เช่น เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด เด็กที่มีโรคหัวใจ โรคปอด และหอบหืดอยู่แล้ว อาจมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว โดยอาจมีอาการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ หรือหายใจล้มเหลว จนต้องนำเข้าหอพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติ (ICU) และอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจด้วย การดำเนินโรคจะเป็นอยู่ 5-7 วัน บางรายในช่วง 1-2 วันแรกมีอาการไม่รุนแรง แต่ในช่วงวันที่ 3-5 ของโรคจะมีอาการรุนแรงมากสุด จากนั้นอาการจะทุเลาลง ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้โดยเฉพาะ โดยทั่วไปการรักษาจะเป็นไปตามอาการที่ป่วย รวมถึงการดูแลเรื่องการหายใจและเสมหะ เช่น ให้ยาแก้ไอละลายเสมหะ ยาขยายหลอดลม ยาลดไข้ หรือพ่นยา ตามแต่อาการของผู้ป่วย ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ ในผู้ป่วยที่มีอาการเหนื่อย หายใจไม่ค่อยดี และเริ่มมีออกซิเจนในเลือดต่ำลง การรักษาจะเป็นในรูปแบบประคับประคอง เช่น ให้สารน้ำทางหลอดเลือด ให้ยาพ่นขยายหลอดลม เคาะปอด ดูดเสมหะ รวมถึงให้ออกซิเจน ส่วนในรายที่มีอาการหนักมาก อาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยให้การดูแลในหอพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติจนกว่าอาการจะดีขึ้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่มีอาการหนักอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อนด้วยไวรัสชนิดอื่นๆ เช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่ เชื้อมัยโคพลาสมา หรือเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้การรักษาที่ครอบคลุมการติดเชื้อเหล่านี้ตามความเหมาะสม เป็นแล้วจะเป็นซ้ำอีกได้หรือไม่ สำหรับเชื้อไวรัส RSV มี 2 กลุ่มย่อย คือกลุ่ม A และ B ซึ่งมีความสัมพันธ์กันแต่ไม่ใช่ตัวเดียวกัน ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยครั้งแรกไม่สามารถป้องกันได้ แต่ถ้าเป็นซ้ำๆกันอาการจะไม่รุนแรงมากเท่ากับในครั้งแรก การป้องกันโรค…
Read More
แผนค่ารักษาพยาบาลรายวันมีคืน

แผนค่ารักษาพยาบาลรายวันมีคืน

แผนประกัน
 ?เติมเงินชดเชยรายได้เมื่อนอนโรงพยาบาล สูงสุดวันละ 6,000 บาท?เติมเงินชดเชยกรณี “นอนicu” หรือ “ผ่าตัดใหญ่” หรือรักษาตัวด้วยโรคร้ายแรง ขั้นต่ำวันละ 4,000 บาท สูงสุด 12,000*365 = 4,380,000 บาท?เติมเงินปลอบขวัญเมื่อออกจากโรงพยาบาลสูงสุดครั้งละ 3,000 บาท?เบี้ยเริ่มต้นเพียงวันละ 19 บาท คุ้มครองชีวิตสูงสุด 1,000,000 บาท?เคลมหรือไม่เคลมก็มีเงินคืนเมื่อครบสัญญา
Read More
เคยคิดมั้ย ??? ถ้าเจ็บป่วยต้องนอนโรงพยาบาลนานๆ อาจขาดรายได้ รับเงินชดเชยรายได้

เคยคิดมั้ย ??? ถ้าเจ็บป่วยต้องนอนโรงพยาบาลนานๆ อาจขาดรายได้ รับเงินชดเชยรายได้

News
เคยคิดมั้ย ??? ถ้าเจ็บป่วยต้องนอนโรงพยาบาลนานๆ อาจขาดรายได้ รับเงินชดเชยรายได้ สูงสุด วันละ 8,000 บาท นานสูงสุด 500 วัน* เมื่อนอนโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน (IPD) จากการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง 5 โรค** หรือพักรักษาตัวในห้องไอซียู รับเงินชดเชยรายได้ สูงสุด วันละ 4,000 บาท นานสูงสุด 1,500 วัน* เมื่อนอนโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน (IPD) จากการเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุ รวมถึงผู้ป่วยในที่ไม่ต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (Day Case) รับเงินก้อนกรณีผ่าตัดใหญ่หรือผ่าตัดซับซ้อน (กรณีใดกรณีหนึ่ง) สูงสุด 80,000 บาทต่อครั้ง เหนือยิ่งกว่า ให้ความคุ้มครองกรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือเสียชีวิต
Read More
ครม.อนุมัติ สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ ไม่เกิน 15,000 บาท สำหรับเบี้ยประกันที่จ่ายไปตั้งแต่ 1 มกราคม 2560

ครม.อนุมัติ สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ ไม่เกิน 15,000 บาท สำหรับเบี้ยประกันที่จ่ายไปตั้งแต่ 1 มกราคม 2560

News
กำหนดให้ยกเว้นเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิต หรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร สำหรับการประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ทั้งนี้ เมื่อรวมกับค่าลดหย่อนตามมาตรา 47 (1) (ง) แห่งประมวลรัษฎากร และเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามข้อ 2 (61) วรรคหนึ่ง และ (94) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรแล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ สำหรับเบี้ยประกันภัยที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
Read More